ข้อมูลทั่วไปของ อบต.หนองรี

ss

 ที่ตั้งและอาณาเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองรี  อำเภอลำสนธิ  จังหวัดลพบุรี  เดิมเป็นสภาตำบล   ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537    เมื่อวันที่  23   กุมภาพันธ์ พ.ศ.  2540  โดยมีสำนักงานอยู่เลขที่ 270  หมู่ที่ 1 บ้านหนองรี  ตำบลหนองรี  อำเภอลำสนธิ  จังหวัดลพบุรี  ห่างจากที่ว่าการอำเภอลำสนธิประมาณ   4.00  กิโลเมตร  โดยมีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

ทิศเหนือ             ติดต่อกับ         ตำบลลำสนธิ  และตำบลเขารวก

ทิศใต้                  ติดต่อกับ         ตำบลนาโสม  และตำบลซับสมบูรณ์

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ         อำเภอเทพารักษ์  จังหวัดนครราชสีมา

ทิศตะวันตก         ติดต่อกับ         ตำบลหนองยายโต๊ะ

 แผนที่ตำบลหนองรี

--

     ลักษณะภูมิประเทศ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี มีพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขา พื้นที่เป็นที่ดอน ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตร มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่  คลองลำสนธิ  คลองโสม คลองสีดา  คลองหนองหัวช้าง คลองหนองเกตุ คลองหนองอีเต่า คลองหนองสองห้อง คลองหนองกระทุ่ม และคลองแก่งคันนา ไหลผ่านฤดูแล้งน้ำจะแห้งไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้  และบางแห่งมีน้ำท่วมถึงทุกปี

     ลักษณะภูมิอากาศ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นและพายุใต้ฝุ่น แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม อากาศจะร้อน และแห้งแล้ง

ฤดูฝน ระหว่างเดือน มิถุนายน – ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้น

ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน

    เขตการปกครองและประชากร

โดยทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขา พื้นที่เป็นที่ดอน ฤดูแล้งน้ำจะแห้งไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ มีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้ง 13 หมู่บ้าน พื้นที่รวม 68.59 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  42,867 ไร่ มีประชากรรวมทั้งสิ้น  7,685   คน  แยกเป็นชาย  3,732  คน  หญิง  3,953  คน  3,105  ครัวเรือน เฉลี่ยประชากร    112  คน/ ตารางกิโลเมตร

    สภาพทางสังคม

    การศึกษา

เขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี มีสถานศึกษาทั้งหมด  7 แห่ง

  1.     โรงเรียนระดับประถมศึกษา   จำนวน 2  แห่ง

1.1 โรงเรียนอนุบาลอำเภอลำสนธิ ( บ้านหนองรี )                              ตั้งอยู่หมู่ที่  1

1.2 โรงเรียนบ้านหนองเกตุ                                                                  ตั้งอยู่หมู่ที่  4

  1.    โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา   จำนวน  1  แห่ง

2.1 โรงเรียนชุมชนวัดจงโก มิตรภาพที่ 157                                         ตั้งอยู่หมู่ที่  3

  1.    โรงเรียนมัธยมศึกษา   จำนวน  1  แห่ง

3.1 โรงเรียนลำสนธิวิทยา ( หนองรีวิทยา )                                           ตั้งอยู่หมู่ที่  1

  1.     ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   จำนวน  2  แห่ง

4.1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี ( บ้านหนองรี )      ตั้งอยู่หมู่ที่  1

4.2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี ( บ้านจงโก )        ตั้งอยู่หมู่ที่  1

  1.    ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   จำนวน  1  แห่ง

5.1 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลำสนธิ         ตั้งอยู่หมู่ที่  1

– มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 13  แห่ง

– มีห้องสมุดประชาชน จำนวน  1  แห่ง

   สถาบันองค์กรทางศาสนา

  1. วัด จำนวน  7  แห่ง

– วัดหนองรี                                               ตั้งอยู่หมู่ที่  1

– วัดจงโก                                                 ตั้งอยู่หมู่ที่  3

– วัดด่านโคกคลี                                       ตั้งอยู่หมู่ที่  2

– วัดบำรุงศรัทธาธรรม                              ตั้งอยู่หมู่ที่  2

– วัดธรรมมิการาม ( วัดหนองเกตุ )          ตั้งอยู่หมู่ที่  4

– วัดพุทธประชานิมิต                               ตั้งอยู่หมู่ที่   4

– วัดด่านโคกคลีสามัคคีธรรม                  ตั้งอยู่หมู่ที่  10

  1. 2. สำนักสงฆ์ จำนวน  1  แห่ง

– วัดเขาสมิง                                             ตั้งอยู่หมู่ที่  4

  1. ศาลเจ้า   จำนวน  1  แห่ง              ตั้งอยู่หมู่ที่  1

การสาธารณสุข

–  มีโรงพยาบาลประจำตำบล                    1  แห่ง

–  มีอาสาสมัครสาธารณสุข                    152   คน

–  มีร้านขายยาแผนปัจจุบัน                      2    แห่ง

–  มีสาธารณะสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน        13    แห่ง  ( หมู่ที่  1 – 13 )

–  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ  100

 สภาพทางเศรษฐกิจ

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลหนองรี เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา และที่ดอน ดังนั้น ราษฎรส่วนใหญ่จึงประกอบ อาชีพรับจ้างทั่วไป เกษตรกรรม เช่น ปลูกอ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น  และเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วันนม วัวเนื้อ เป็นหลัก โดยสภาพเศรษฐกิจของท้องถิ่นอยู่ในระดับที่สามารถพึ่งพาตนเองได้บางส่วน อีกบางส่วนยังต้องได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อสามารถมีอาชีพที่มั่นคงและสามารถเลี้ยงตนเองพร้อมทั้งครอบครัวได้อย่างถาวรในอนาคต

        ทรัพยากรธรรมชาติ

               แหล่งน้ำธรรมชาติ

– คลองลำสนธิผ่าน                    หมู่ที่ 1  ,  หมู่ที่ 2  ,  หมู่ที่  7 หมู่ที่ 10  ,  และหมู่ที่  11

– คลองลำพญากลาง                 หมู่ที่  2

– คลองลึก                                  หมู่ที่  2

– คลองหนองไข่เน่า                   หมู่ที่  2

– คลองจาน                                หมู่ที่  2

– คลองแก่งคันนา                       หมู่ที่ 4

– ฝาย/คลองโสม                       หมู่ที่ 5

– คลองสีดา                                หมู่ที่  6

– ฝาย/คลองบ้านโคกสามัคคี    หมู่ที่ 6

– คลองห้วยหัวช้าง                    หมู่ที่  6

– น้ำตกวังแสนดี                         หมู่ที่  2  หมู่ที่  7

– คลองหนองตะกรุดด่าน           หมู่ที่  7

– คลองหนองอีเต่า                     หมู่ที่  7

– คลองหนองสองห้อง               หมู่ที่  9

– คลองหินปูน                             หมู่ที่ 10

– คลองหนองบัวแดง                  หมู่ที่  11

– คลองบ้านนางคอฯ                   หมู่ที่  11

– ฝาย/คลองบ้านสะเดางาม        หมู่ที่  11

– คลองหนองกระทุ่ม                    หมู่ที่ 5 หมู่ที่  12  และหมู่ที่ 13

– มีน้ำตกวังแสนดี                        หมู่ที่  2 และหมู่ที่  7

– เขาพังเหย                                 หมู่ที่  2 , หมู่ที่  10

– เขาแผงม้า                                 หมู่ที่  4 , หมู่ที่  5 และหมู่ที่ 6

              แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

– ฝายบ้านจงโก                          หมู่ที่  11

– ฝายบ้านหนองสองห้อง           หมู่ที่  9

– ฝายบ้านคลองลึก                     หมู่ที่  2

– ฝายบ้านหนองรี                        หมู่ที่  1

– ฝายคลองหนองหัวช้าง            หมู่ที่  1

– สระน้ำสาธารณะในหมู่บ้าน       หมู่ที่  1 , 2 , 5 ,

              ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว/แหล่งความรู้ภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี

– ปรางค์นางผมหอม                                                                ตั้งอยู่หมู่ที่  2

– น้ำตกวังแสนดี                                                                       ตั้งอยู่หมู่ที่  2 , 7

– ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธ์สัตว์ลำพญากลาง                             ตั้งอยู่หมู่ที่  2

– ศูนย์ผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์ผสมเทียม กรมปศุสัตว์       ตั้งอยู่หมู่ที่  2

– ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพื้นบ้าน                                                ตั้งอยู่หมู่ที่  1 ( วัดหนองรี )

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                     – ความรู้ด้านถักแห

  1. นางปัญญา  อุตไชยา                    หมู่ที่  2   บ้านหนองผักบุ้ง
  2. นายประจิม  ตุ้มเพชร                     หมู่ที่ 12   บ้านสินเจริญ
  3. นายไพเราะ  คุณมาก                     หมู่ที่  13  บ้านโนนทอง

ความรู้ด้านจักสาน

  1. นายติ๋ม       มีสุข                            หมู่ที่  2  บ้านหนองผักบุ้ง
  2. นายชาลี      จอมสมสา                  หมู่ที่  4   บ้านหนองเกตุ
  3. นายเหรียญ  รอดภู                         หมู่ที่  4   บ้านหนองเกตุ
  4. นายคง       จิตรจำนงค์                  หมู่ที่  7   บ้านวังแสนดี
  5. 5. นางเทือง    ออมสิน                   หมู่ที่  9  บ้านหนองสองห้อง
  6. 6. นางชด        อ่อนศรี                   หมู่ที่  11  บ้านทรายทอง
  7. นายพูน       นนท์แก้ว                     หมู่ที่  13  บ้านโนนทอง

         ความรู้ทางด้านการทอผ้า

  1. นายชวน      ขะชี้ฟ้า                        หมู่ที่  2 บ้านหนองผักบุ้ง
  2. นางบุญมา    ผูกพันธ์ไทย               หมู่ที่  3  บ้านจงโก

ความรู้ทางด้านเครื่องสีข้าว

  1. นายกัณหา  ด้วงอินทร์                    หมู่ที่  3 บ้านจงโก

ความรู้ทางด้านนวดแผนไทย

  1. นางจันทร์    จันทร์มา                     หมู่ที่  3  บ้านจงโก
  2. นางสาวบุญประเสริฐ  มีแก้ว           หมู่ที่  1  บ้านหนองรี
  3. นายสามเหลี่ยม  อินจาด                 หมู่ที่  5  บ้านน้อยพัฒนา

ความรู้ด้านการตีมีด

  1. นายรัฐนันท์  เพียงราม                   หมู่ที่  8  บ้านโชคชัย

–  ความรู้ด้านการทำเฟอร์นิเจอร์

  1. นายชวน      วงศ์สังวาล                  หมู่ที่  9  บ้านหนองสองห้อง

ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

  1. นายบุญสืบ  บรรเทากุล                  หมู่ที่  8  บ้านโชคชัย
  2. นายประสิทธิ์  จันทร์แก้ว                 หมู่ที่  9  บ้านหนองสองห้อง
  3. นายสวัสดิ์    ช้างโต                         หมู่ที่  11  บ้านทรายทอง

– ความรู้ทางด้านกลุ่มหินสี

1. นายบัญชา  ชั่งปั้น                          หมู่ที่ 4 บ้านหนองเกตุ